วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Computer-Assisted Audiovisual Language Learning

computer assisted language learning


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (CALL)

การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา (CALL)


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) 

    
           ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
           คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Computer-Assisted Instruction ซึ่ง  ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์ป็นภาษาไทยว่า การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแต่คำศัพท์ดังกล่าวไม่เป็นที่นิยมใช้กัน โดยมักใช้คำว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกันมากกว่า หรือที่เรียกย่อๆว่า CAI นอกจากคำว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแล้ว ยังมีคำศัพท์อีกหลายคำที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการศึกษาแต่มีความหมายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับลักษณะของการนำมาใช้ได้แก่ 

-คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( CAI : Computer Assisted Leaning ) 
-คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนภาษา ( CALL : Computer Assisted Language Learning) 
-การสอนการอบรมที่อาศัยคอมพิวเตอร์( CBT :Computer Based Training Teaching ) 
-การเรียนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก (CBL: Computer Based Instruction Learning) 
-การสอนที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ( CBI : Computer Based Instruction) 
-การใช้คอมพิวเตอร์จัดการในการสอน (CMI : Computer Managed Instruction )
          

          นักการศึกษาได้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไว้ ดังต่อไปนี้ 


สุกรี รอดโพธิ์ทอง ( 2532:54 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเนื้อหาหรือทบทวนวิชา โดยเฉพาะในแต่ละหน่วยของเนื้อหาวิชาจะบอกถึงวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมและการประเมินผล มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ และเทคนิคการออกแบบการสอนแบบต่างๆเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

ฉลอง ทับศรี ( 2538:1 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นบทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนด้วยตนเองเป็นหลัก 
สุรางค์ โคว้ตระกูล ( 2536:237 ) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคล ใช้ในการทบทวนบทเรียนการทำแบบฝึกหัด การติวและการสร้างสถานการณ์จำลองช่วยในการสอนแก้ปัญหา 
ล็อคคาร์ด (1990:164) ได้กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์โดยตรงในการจัดการเรียนการสอนซึ่งเป็นสื่อสาร 2 ทิศทางกับคอมพิวเตอร์ในการตอบคำถามและการได้รับผลย้อนกลับในการตอบทันที 

          ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ และมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถรับรู้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที
2.ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้ตามต้องการ
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการนำเสนอภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้
4.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาที่เร็ว
5.ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เนื่องจากได้ปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง
6.สร้างความพึงพอใจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
7.ทำให้ครูมีเวลาในการจัดกระบวนการเรียนรู้ได้มากขึ้น
8.ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมืองและโรงเรียนชนบท
9.ประหยัดเวลาลังบประมาณในการจัดการเรียนการสอน
10.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง แก้ปัญหาและฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
         
           สรุป

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาให้แก่ผู้เรียน มีปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบระหว่างผู้เรียน พร้อมทั้งส่งผลย้อนกลับได้ทันที มุ่งให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 


การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา CALL
            (Computer-assisted language learning program)

ผ่าน บาลโพธิ์ (2539) อธิบายลักษณะของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยเรียนภาษา หรือCALL (Computer-assisted language learning program) ไว้ว่า โปรแกรมช่วยเรียนภาษาเป็นชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษามีลักษณะเหมือนกับโปรแกรมช่วยการสอน หรือ CAI คือ มีการเสนอเนื้อหาหรือเนื้อเรื่อง มีการถามการตอบ มีการแนะนำและอธิบายแต่จะกว้างกว่า CALL เพราะ CAI บอกให้ทราบว่าเป็นโปรแกรมช่วยการสอนเท่านั้น ส่วนจะสอนวิชาใดบ้างก็แล้วแต่ผู้สร้างโปรแกรม
แต่ CALL หมายถึงโปรแกรมช่วยเรียนภาษาโดยเฉพาะ ใช้ได้ทั้งกับการเรียนในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนการเรียน และการให้ผู้เรียนเรียนจากโปรแกรมด้วยตนเองที่ศูนย์การเรียนรู้ดวยตนเอง (Self-access learning center) หรือที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสำหรับสถานศึกษาทีมีความพร้อมก็อาจมอบแผ่นโปรแกรมให้ผู้เรียนนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานศึกษาโดยผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์

Computer-assisted language learning (CALL)

Computer-assisted language learning (CALL)  is succinctly defined in a seminal work by Levy (1997: p. 1) as "the search for and study of applications of the computer in language teaching and learning".[1] CALL embraces a wide range of ICT applications and approaches to teaching and learning foreign languages, from the "traditional" drill-and-practice programs that characterised CALL in the 1960s and 1970s to more recent manifestations of CALL, e.g. as used in a virtual learning environment and Web-based distance learning. It also extends to the use of corpora and concordancers, interactive whiteboards, Computer-mediated communication (CMC), language learning in virtual worlds, and Mobile-assisted language learning (MALL).
The term CALI (Computer-assisted language instruction) was in use before CALL, reflecting its origins as a subset of the general term CAI (Computer-assisted instruction). CALI fell out of favour among language teachers, however, as it appeared to imply a teacher-centred approach (instructional), whereas language teachers are more inclined to prefer a student-centred approach, focusing on learning rather than instruction. CALL began to replace CALI in the early 1980s (Davies & Higgins 1982: p. 3) and it is now incorporated into the names of the growing number of professional associations worldwide.
An alternative term, Technology-enhanced language learning (TELL), also emerged around the early 1990s: e.g. the TELL Consortium project, University of Hull.
The current philosophy of CALL puts a strong emphasis on student-centred materials that allow learners to work on their own. Such materials may be structured or unstructured, but they normally embody two important features: interactive learning and individualised learning. CALL is essentially a tool that helps teachers to facilitate the language learning process.
             It can be used to reinforce what has been already been learned in the classroom or as a remedial tool to help learners who require additional support.
The design of CALL materials generally takes into consideration principles of language pedagogy and methodology, which may be derived from different learning theories (e.g. behaviourist, cognitive, constructivist) and second language learning theories such as Stephen Krashen's monitor hypothesis.
 See Davies et al. (2011: Section 1.1, What is CALL?).[7] See also Levy & Hubbard (2005), who raise the question Why call CALL "CALL"?

About me


                     Hello! My name is Ornpattra   Promchan. My nickname's Som-o. I was born on 17th, October, 1993. I lives at 257/2 M.11, Harn Thao Sub-district, Pakpayoon District, Phatthalung Province. Now, I'm studying at Nakhon Si Thammarat Rajabhat University.

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

Forum 2012.50 ห้องเรียนสนทนา


ห้องเรียนสนทนา
8 แนวทางในการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1.      บรรยากาศที่ผ่อนคลาย
2.      ส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัว
3.      มีความกระตือรือร้น
4.      มีมานะ
5.      ละเอียดอ่อน
6.      รู้จักคิด ไตร่ตรอง
7.      การฟัง
8.      การแก้ไข

Bloom's Taxonomy for Thinking

Thinking Skills


ทักษะการคิด(Thinking Skills)

ความหมายทักษะการคิด
ทักษะการคิดเป็นกระบวนการของสมองส่วนบนซีกซ้ายและซีกขวา
การคิดคือการที่เราทำความเข้าใจกับประสบการณ์ต่างๆ การคิดที่มีคุณภาพจะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ผลยิ่งขึ้นจาก
ประสบการณ์และยังสามารถพัฒนาสติปัญญาให้ดียิ่งขึ้น
มาร์โซโน (Mazono and others, 1993 )ให้ความหมายทักษะการคิดว่าเป็นกระบวนการให้เหตุผลที่เกี่ยวกับ
งานที่ทำหรือสิ่งที่เรียนรู้เพื่อแสดงให้รู้ว่าเข้าใจเนี้อหาและการปฏิบัตินั้น
เดอโบโน(De Bono, 1976)  ทักษะการคิดหมายถึงการที่รู้ว่าจะทำอะไร เมื่อไรและทำได้อย่างไร ใช้เครื่องมือ
อะไรบ้างและผลที่จะเกิดขึ้นคืออะไร
ทักษะการคิดแตกต่างจากแตกต่างจากความรู้และสติปัญญาเพราะคนที่มีความรู้และสติปัญญาไม่ได้หมายความ
ว่ามีทักษะการคิดหรือเป็นนักคิดที่มีประสิทธิภาพ (Effective Thinking)
ฟิชเชอร์(1990) ทักษะการคิดหมายถึงรู้อะไรหรือจะรู้ได้อย่างไร หรือการรู้ว่าไม่ได้ทำและทำอะไร อย่างไร
สรุปทักษะการคิดคือความสามารถ ความชำนาญในการคิดทุกประเภทเริ่มตั้งแต่ความสามารถในการจัดการความรู้
และนำความรู้ไปใช้ การคิด
วิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์และประเมินค่า การคิดแก้ปัญหาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์

Whole Language Approach


การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)‏

การสอนภาษาแบบองค์รวม

ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน

หลักการสอนภาษาแบบองค์รวม
กูดแมน (1996) ได้เสนอแนะหลักการของการสอนภาษาแบบองค์รวมได้ดังนี้
1. หลักการสอนอ่านและเขียนภาษาแบบองค์รวม
1.1. ผู้อ่านจะต้องเก็บข้อมูลและทำความเข้าใจความหมายของข้อความที่อ่านในระหว่างการอ่านโดยใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของตนเข้าช่วยเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น มีงานวิจัยด้านการอ่านมากมายที่สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้อ่านที่มีประสบการณ์ หรือความรู้เดิมในสาขานั้น ๆ จะสามารถอ่านได้ดีและเข้าใจเร็วกว่าผู้ไม่มีประสบการณ์
1.2. ในระหว่างการอ่าน ผู้อ่านจะต้องใช้กลวิธีในการอ่าน ที่จะช่วยให้เข้าใจข้อความที่อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านได้หรือที่เรียกว่า กระบวนการอ่าน ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านทุกคนในขณะที่อ่านเป็นขั้นตอน อันประกอบด้วยการตั้งสมมติฐานหรือการคาดการณ์ล่วงหน้า การเลือกสรรความหมายของคำหรือข้อความ และสนับสนุนความหมายที่ถูกต้อง แต่หากเกิดความผิดพลาดก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ด้วยตนเอง ทุกขั้นตอนดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่อ่านตลอดเวลา ทั้งผู้ที่มีความสามารถในการอ่านระดับสูงหรือผู้ที่เริ่มเรียนการอ่าน
1.3. ด้านการเขียน แนวการสอนภาษาแบบองค์รวม จะเน้นให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านและการเขียน ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันตลอดเวลาผู้อ่านมากจะมีข้อมูลในการเขียนมาก ดังนั้นในการเขียนควรฝึกให้ผู้เขียนมีข้อมูลหรือรายละเอียดที่เหมาะสมเพียงพอ สามารถผลิตงานเขียนที่มีผู้อ่านเกิดความเข้าใจ สามารถรับสารของผู้เขียนได้
1.4. การเขียนต้องคำนึงถึงระบบของภาษาซึ่งประกอบด้วยตัวสัญลักษณ์และเสียง (grapho phonic system) หลักเกณฑ์ไวยากรณ์ (syntactic system) และการสื่อความหมาย (semantic system) ทั้งสามระบบต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้องในการเขียน จึงจะทำให้ผู้อ่านสามารถตีความหมายและเข้าใจข้อความนั้นอย่างถูกต้อง
1.5. จุดมุ่งหมายหลักของการอ่านคือ ความหมายและความเข้าใจในบทความที่อ่าน (comprehend sion of meaning) ส่วนจุดมุ่งหมายในการเขียน คือ สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจตามจุดประสงค์ของผู้เขียน (expression of meaning)
2. หลักการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวม
2.1. ส่งเสริมการอ่านภายในโรงเรียน จัดหาหนังสือหรืออุปกรณ์ส่งเสริมการอ่านต่าง ๆ ที่มีความหมายส่งเสริมประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความเพลิดเพลิน โดยจัดให้ หลากหลายสาขาและมีแบบแผนการเขียนที่แตกต่างกัน เป็นแบบอย่างการใช้ภาษา
2.2. ส่งเสริมให้รักการอ่าน โดยจัดเตรียมหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ให้ตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนและสังคม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การอ่าน มีหนังสือมากมายหลายประเภทให้เลือกซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้เรียนอยากอ่านเองเพื่อความสนุกสนานและพอใจ มิใช่การบังคับให้อ่าน การอ่านด้วยความพอใจและการอ่านโดยการบังคับให้ผลต่อการพัฒนาการอ่านต่างกัน
2.3. ในการเรียนการสอนทั้งผู้สอนและผู้เรียนจะต้องมีจุดประสงค์ย่อยในส่วนของตนเองที่ต่างกัน ผู้สอนจะต้องเน้นการพัฒนาการใช้ภาษาของผู้เรียนในการอ่านการเขียน ส่วนผู้เรียนจะเน้นการนำภาษาไปใช้ในการอ่านและการเขียนเพื่อสื่อความหมายตามที่ต้องการ ผู้สอนควรพยายามให้ผู้เรียนมีความกล้าในการใช้ภาษารูปแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลายโดยไม่กลัวความผิดและพร้อมที่จะแก้ไขได้เสมอซึ่งจะทำให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ได้รวดเร็วกว่าผู้ที่ไม่กล้าใช้ภาษา เมื่อใช้ได้ถูกต้องผู้เรียนจะมีความมั่นใจและมีพลังการใช้ภาษา ได้อย่างดี
2.4. ผู้สอนต้องเน้นให้ผู้เรียนรู้จักใช้กระบวนการอ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความชำนาย ประกอบกับความรู้เดิมพื้นฐาน จะทำให้สามารถพัฒนาการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
รูปแบบเรียนรู้ ภาษาแบบเดิม รูปแบบเรียนรู้ ภาษาตามธรรมชาติ
• เน้นการสอนโดยตรงจากครู ซึ่งถูกควบคุมโดยหลักสูตรโปรแกรมการสอนที่กำกับอยู่
• มีพฤติกรรมที่เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ (สกินเนอร์)
• การเรียนรู้เป็นแนวทางที่ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายากและซับซ้อน จากทักษะย่อยไปสู่ทักษะใหญ่ขึ้น
• การเรียนพูด - เขียน ให้ถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องสร้างนิสัย ดังนั้นหากพูดหรือเขียนผิด ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง ถือว่าคำผิดเป็นสิ่งร้ายแรง
• เมื่อถือว่าความถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญดังนั้นการปล่อยให้เด็กทดลอง กล้าทำอะไรนอกรูปแบบ จึงเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์
• ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนและทำสิ่งที่ครูสอนให้ได้ เหตุนี้เองเด็กจำนวนมากจึงต้องประสบกับความล้มเหลวอยู่เสมอ
• ความสามารถในการทำงานให้ถูกต้องทั้งการเขียนจะใช้เป็นหลักฐานเครื่องวัดผลคะแนนการเรียนรู้
• เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งได้รับการแนะนำช่วยเหลือ โดยครู แต่ไม่ใช่ถูกควบคุม แต่ครูเป็นผู้เรียนรู้ร่วมกันไปพร้อมกับเด็ก
• การเรียนรู้ด้านสติปัญญาจะเป็นรูปแบบ ควบคู่ไปกับด้านสังคม (ไวกอตสกี และ ฮอลลิเดย์)
• ทุกสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ มองว่าเป็นการเรียนรู้ ที่อยู่ภายใต้องค์รวมที่มีความหมายต่อเด็กทั้งหมด ที่เด็กซึมซับประสบการณ์ไว้
• การเรียนรู้ถูกมองว่าเป็นผลของกระบวนการทางสติปัญญาที่น่าจะได้รับการช่วยเหลือ สนับสนุนจากครูและเพื่อน ๆ ร่วมกัน
• การกล้าทดลอง กล้าเสี่ยงซึ่งอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นบ้าง ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อการเรียนรู้ของเด็กเพื่อสร้างกำลังใจและความมั่นใจ
• ผู้เรียนแต่ละคนถูกมองว่ามีความแตกต่างกันในการเรียนรู้และมีระดับการพัฒนาได้ไม่เท่ากัน แต่ละคนมีวิถีทางของตนเอง ดังนั้น จึงไม่มีคำว่า “ล้มเหลว” เกิดขึ้น
• ความสามารถที่จะเข้าใจและประยุกต์นำความรู้ไปใช้ และสามารถคิดได้อย่างผู้รู้ จะใช้เป็นรากฐานการเรียนรู้ เช่นเดียวกับความสามรถในการใช้วิธีการต่าง ๆ ในการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆ

Method for Teaching English

http://www.slideshare.net/MadelRefugioGarzaLanderos/methods-for-teaching-english?fb_action_ids=465952786811774&fb_action_types=og.likes&fb_source=aggregation&fb_aggregation_id=288381481237582

Multiple Intelligences





การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence)
คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)
คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคน ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ทฤษฎีพหุปัญญา ของการ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน
คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว
นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ

Cooperative Learning


Cooperative Learning (การเรียนรู้แบบร่วมมือ) 
หมายถึง การจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกทุกคนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสมาชิกต้องเข้าใจในกระบวนการการทำงานในลักษณะเผชิญหน้า เป็นการเน้นการปฏิบัติงานให้มีความสำเร็จในกลุ่มย่อย

Task-Based Approach


                 แนวการสอนที่ยึดภาระงานเป็นฐาน (Task-Based Approach) เป็นการเรียนรู้ภาษาที่เกิด
จากการปฏิสัมพันธ์ในขณะที่ทำภาระงานให้สำเร็จ   ความรู้ด้านคำศัพท์และโครงสร้างจะเป็นผลที่ได้จากการฝึกใช้ภาษาในขณะทำกิจกรรม นิยมนำแนวคิดนี้ไปใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา เพราะเชื่อว่าการเรียนรู้ภาษาเกิดจากกระบวนการที่นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจนลุล่วงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานว่ามีจุดมุ่งหมาย 4 ประการ คือ 
      1. เพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารและในการปฏิบัติภาระงานที่ได้รับ
มอบหมายได้เป็นผลสำเร็จ
      2.เพื่อให้สามารถนำความรู้และประสบการณ์ทางภาษาที่ได้รับไปใช้ในชีวิตจริงได้
      3.เพื่อพัฒนาทักษะการคิดโดยผ่านกระบวนการปฏิบัติภาระงาน
      4.เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

Content-based Approaches


แนวการสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเป็นฐาน (Content-Based Approach)  เป็นแนวการสอนที่เน้น
                         เนื้อหาสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกับจุดหมายของการสอนภาษา  กล่าวคือ ให้ผู้เรียนใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และในขณะเดียวกันก็พัฒนาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารไปด้วย  ดังนั้น การคัดเลือกเนื้อหาที่นำมาให้ผู้เรียนได้เรียนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะเนื้อหาที่คัดเลือกมาจะต้องเอื้อต่อการบูรณาการ
การสอนภาษาทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ สามารถติดตาม ประเมินข้อมูลของเรื่อง และพัฒนาการเขียนเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆได้ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาในลักษณะองค์รวม (Whole Language Learning)

Communicative Language Teaching

Communicative Language Teaching              ถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้  และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย

Total Physical Response Method

               วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method)แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี
ลักษณะเด่น
1 ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู
2 ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง เมื่อถึงระยะเวลาที่
      
สมควรพูดแล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไป
3 ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์
       และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง
4 นักเรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู
5 ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียน
       
เมื่อครูสั่ง
6 ครูต้องทำพร้อมกับนักเรียนในระยะแรก
7 ต้องสั่งจากง่ายไปหายาก

Desuggestopedia

                 กิจกรรมการเรียนที่เน้นคือกิจกรรมการฟัง ผู้สอนจะใช้ภาษาสนทนา ที่มีคำแปลเป็นภาษาของผู้เรียนรวมทั้งไวยากรณ์และคำศัพท์จากบทสนทนาไว้ด้านหนึ่งด้วย ผู้สอนจะอ่านบทสนทนาให้ผู้เรียนฟัง 3 ครั้ง ในครั้งแรก ผู้เรียนฟังบทสนทนาที่ครูอ่านให้ฟังโดยอ่านคำแปลไปด้วย ในการอ่านครั้งที่สองผู้เรียนอาจดูบทเรียนไปด้วย และจดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในการอ่านครั้งที่สามนั้น ผู้อ่านจะเปิดเพลงคลาสสิกไปพร้อม ๆ กัน ผู้เรียนได้รับอนุญาตให้วางหนังสือ และเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ตามสบาย จะหลับตาฟัง หรือจะหยิบบทเรียนขึ้นมาอ่านตามก็ได้ ในขั้นต่อไปอาจให้ผู้เรียนเล่นเกมทางภาษา การเล่นละครสั้น การร้องเพลง การถามตอบเพื่อให้ภาษาในการสื่อสารการจัดกิจกรรมจะทำเป็นกลุ่มผู้เรียนจะไม่ถูกบังคับให้ทำงานเป็นรายบุคคลกิจกรรมทุกกิจกรรมต้องเสริมให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และรู้สึกว่าไม่ถูกบังคับให้ทำในระยะเริ่มแรกผู้สอนจะไม่แก้ไขข้อผิดพลาดทันที แต่จะนำสิ่งที่ถูกต้องมาสอนในวันต่อไป

The Silent Way

The Silent Way
              การสอนแบบเงียบเป็นการสอนที่ครู "เงียบ" แต่ใช้การบอกใบ้ท่าทาง และสื่อทุกชนิด แผนภูมิสีเพื่อช่วยในการออกเสียง แท่งไม้ที่เรียกว่า "Cuisiniere rod" คือชุดของแท่งไม้ที่มีสีและความยาวที่แตกต่างกันที่ครูใช้ในการช่วยให้นักเรียนพูด โดยเฉพาะผู้เริ่มเรียน โดยใช้คำศัพท์ง่ายเช่น ครูยกแท่งไม้นักเรียนพูด "This is a yellow rod" แล้วครูกระตุ้นให้นักเรียนพูดประโยคซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ เช่น Take the long yellow rod and give it to Cathy. ในระหว่างนี้ครูจะไม่พูดหรือพูดน้อยที่สุดเพื่อให้นักเรียนสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และรู้สึกเป็นอิสระจากการควบคุมของครู นักเรียนจะต้องเรียนรู้ที่จะประเมินตนเองจะแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของตนเองได้ Gattegno เห็นว่าการใช้วิธีสอนแบบนี้ทำให้ผู้เรียนจำโครงสร้าง และคำศัพท์ได้ดีและพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาในระดับสูงขึ้นได้ดี ซึ่งเขาเชื่อว่าการเรียนภาษาจะมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนมีความรับผิดชอบ และการเรียนเป็นกระบวนการแก้ปัญหาผู้เรียนค้นพบข้อความรู้ด้วยตัวเองมากกว่าที่จะรอรับความรู้จากครู

The Audio-Lingual Method


วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) 
       เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก 
ลักษณะเด่น
1 ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ
2 ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดตามซ้ำๆ กัน 
      ในรูปแบบต่างกัน 
3 ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษา
      ในชีวิตประจำวัน
4 นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ
5 นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัย
       สามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ 

The Direct Method


Direct Method

             เข้ามาแทนที่วิธีการสอนแบบ Grammar Translation Method ในช่วงปี ค.ศ. 1890s ถึง1960s เนื่องจากการสอนภาษาให้ความสำคัญกับการฟัง-พูดมากขึ้นกว่าในยุคแรก ครูจัดการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาที่ต้องการสอนเท่านั้น วิชาที่สอนจะเป็นวิชาที่สามารถอธิบายด้วยภาพ แผนที่ หรือสื่อจริง โดยในระหว่างที่ครูสอนครูจะพยายามถามคำถามทั้งแบบ open-ended และ close-ended ในแต่ละเนื้อหาย่อย ๆ เพื่อให้มั่นใจว่านักเรียนเกิดการเรียนรู้ ครูจะให้นักเรียนออกเสียงคำใหม่และคำที่นักเรียนออกเสียงผิดอยู่

หากนักเรียนสงสัยและตั้งคำถามครูจะใช้วิธีการพูดอธิบายด้วยประโยคง่าย ๆ หรือการวาดรูป แสดงท่าทาง แต่จะไม่มีการแปลเป็นภาษาแม่ของผู้เรียน นักเรียนจะโต้ตอบครูด้วยภาษาที่เรียนอยู่เท่านั้น ดังนั้นการสื่อสารในห้องเรียนจึงมีมากกว่าวิธีไวยากรณ์-การแปล ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กิจกรรมการเรียนรู้จะเป็นการเขียนตามคำบอก การเขียน paragraph เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน หรือการเติมคำในช่องว่าง 

จุดเด่น
1. ความสามารถในการพูดภาษาได้สำคัญกว่าการรู้กฎเกณฑ์/ไวยากรณ์ 
2. การแก้คำผิดของครูจะใช้วิธีแบบอ้อม ๆ เช่น การอ่านประโยคที่ผิดซ้ำด้วยการขึ้นเสียงสูง เป็นการให้เด็กรู้เอง สังเกตเอง (self-correct) 
3. ครูจะไม่อธิบายหลักไวยากรณ์ นักเรียนจะซึมซับจากตัวอย่างประโยคที่เรียนเอง

The Grammar-Translation Method


               การสอนภาษาแบบไวยากรณ์-การแปล (Grammar Translation) หรือเรียกอีกอย่างว่า Classical Method หรือ Traditional Method ซึ่งเป็นวิธีสอนภาษาในยุคโบราณ (แต่ถือว่ายังไม่ตกยุค เพราะครูหรืออาจารย์ที่สอนภาษาหลายท่าน ยังคงใช้อยู่สำหรับสอนวิชาที่ต้องมีการแปลเนื้อหา) วิธีการสอนแบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากในช่วงที่ยุโรปมีความต้องการที่จะฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุคตั้งแต่ (Renaissance) เป็นช่วงที่คนในสมัยนั้นเชื่อว่าการเป็นปัญญาชน (Intellect) ผู้เรียนจะต้องบ่มเพาะจากการซาบซึ้งและเข้าใจวรรณคดี นำแง่มุมจากวรรณคดีมาพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นวรรณคดีส่วนใหญ่ซึ่งเป็นภาษากรีกและลาติน (classical languages) แม้กระทั่งวรรณคดีเด่น ๆ ในภาษาอื่น ๆ จึงถูกนำมาใช้เป็นสื่อการสอน วิธีการสอนแบบนี้ไม่ได้ตั้งใจให้ผู้เรียนเรียนฝึกพูดภาษานั้น ๆ แต่ต้องการให้แปลออกมาเป็นภาษาตนเองได้อย่างแม่นยำ (accuracy)และหาคำที่ใกล้เคียงกับภาษาแม่มากที่สุด ครูจะใช้ภาษาแม่เป็นหลักในการจัดเรียนการสอน ในแต่ละครั้งที่มีการเรียน ครูจะรู้อยู่ในใจแล้วว่าในบทอ่านแต่ละครั้ง ไวยากรณ์/กฎและข้อยกเว้น//รูปแบบประโยค ลักษณะไหนที่นักเรียนจะต้องรู้ (ไวยากรณ์ไม่ได้แบ่งเป็น unit เหมือนที่เราเรียนในแบบวิธี CLT) ครูจะใช้แบบฝึก/ใบความรู้เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับบทอ่านหรือวรรณกรรมที่ต้องแปล มีการทดสอบไวยากรณ์และความเข้าใจความหมายของบทอ่าน

ลักษณะเด่น
1. ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ ”วัฒนธรรมการสอนภาษา” หรือ “วิธีสอนภาษา”
2. ผู้เรียนจะพัฒนาทักษะทางภาษาเพียง 3 ทักษะคือ การอ่าน การเขียน และ คำศัพท์ สุดท้ายบทบาทของผู้เรียนคือการท่องจำ
3. ครูวัดผลโดยการวัดในระดับความจำ ความเข้าใจ ซึ่งครอบคลุมคำศัพท์ กฎเกณฑ์ทางภาษา/ไวยากรณ์ และการแปลออกมาเป็นภาษาของตนเองได้อย่างถูกต้อง ได้ใจความตามภาษาเดิมให้มากที่สุด
4. ครูเป็นศูนย์กลาง นักเรียนเป็นผู้รับฟัง จดและจำคำศัพท์ หลักไวยากรณ์
5. ผู้เรียนมีความสามารถด้านไวยากรณ์เป็นหลัก (grammatical competence เท่านั้น)

ข้อจำกัด
1. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจว่าภาษาคือการเรียนรู้ไวยากรณ์หรือกฏเกณฑ์เพียงอย่างเดียว การใช้ภาษาไม่ใช้สิ่งสำคัญ
2. ผู้เรียนไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนกับการใช้ภาษาในสถานการณ์จริงได้ เนื่องจากสามารถเรียนรู้หน่วยคำ ความหมาย และประโยคเท่านั้น ไม่มีแม้การฝึกพูดประโยคนั้นซ้ำ ๆ(ซึ่งมีใน Audiolingual Method) ผู้เรียนขาดทักษะการออกเสียงที่ถูกต้อง (ครูออกเสียงไม่ถูกต้องก็สอนภาษาได้) การใช้ภาษาให้ถูกกาลเทศะ และความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรมของภาษา